ข้อควรรู้ โรคฝีดาษลิง คืออะไร ติดต่อได้อย่างไร

เชื่อว่าไม่มีใครไม่รู้จักโรค “ฝีดาษ” หรือไข้ทรพิษ ที่เคยคร่าชีวิตคคนในสมัยก่อนมาหลายร้อยหลายพันคนมาแล้ว เพราะเป็นโรคติดต่อที่น่ากลัว อาการรุนแรง และติดต่อจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่งได้ง่าย แต่ในสมัยนี้อาจจะไม่ค่อยคุ้นหูกันนัก เพราะเรามีวัคซีนที่ฉีดป้องกันให้เราตั้งแต่เด็ก อีกทั้งการศึกษา ระบบสาธารณูปโภคที่สะอาด และทันสมัย ทำให้การติดเชื้อเกิดขึ้นได้ยากมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม มีโรคฝีดาษอีกชนิดหนึ่งที่หลายคนอาจไม่คุ้นหู แต่มีอยู่จริง นั่นคือ “ฝีดาษลิง

ฝีดาษลิง คืออะไร แตกต่างจากโรคฝีดาษปกติอย่างไร

นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค อธิบายว่า โรคฝีดาษลิง เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส orthopoxvirus เป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนที่พบได้น้อย โรคนี้พบมากในแอฟริกากลาง และตะวันตก โดยเชื้อไวรัสฝีดาษลิงเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกับเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคฝีดาษในคน และฝีดาษวัว พบในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิง และสัตว์ฟันแทะหลายชนิด เช่น หนู กระรอก กระต่าย เป็นต้น สัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงก็อาจติดเชื้อได้ รวมทั้งคนก็สามารถติดเชื้อนี้ได้เช่นกัน

ฝีดาษลิง ติดต่อในคนได้อย่างไร

สำหรับในคน สามารถติดโรคฝีดาษลิงนี้ติดต่อจากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สิ่งคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือจากการถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัด การแพร่เชื้อจากคนสู่คนอาจเกิดขึ้นได้แต่มีโอกาสน้อยมาก

อาการของโรคฝีดาษลิงในคน

ผู้ป่วยจะแสดงอาการของโรคหลังติดเชื้อประมาณ 12 วัน อาการป่วยของโรคฝีดาษลิงคือ

  1. มีไข้ หนาวสั่น
  2. ปวดหัว เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโต
  3. ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง
  4. อ่อนเพลีย
  5. จากนั้นประมาณ 1-3 วัน จะมีผื่นขึ้นบริเวณแขนขา และอาจจะเกิดบนหน้าและลำตัวได้ด้วย
  6. จากผื่น จะกลายเป็นตุ่มหนอง
  7. ในระยะสุดท้ายตุ่มหนองจะมีสะเก็ดคลุมแล้วหลุดออกมา

วิธีรักษาโรคฝีดาษลิงในคน

ตามปกติแล้ว อาการป่วยโรคฝีดาษลิงในคนจะค่อยๆ หายได้เองหลังจากผ่านไปประมาณ 2-4 สัปดาห์ แต่หากอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียดเพิ่มเติม

ในประเทศไทยขอยืนยันว่าไม่เคยมีรายงานผู้ติดเชื้อโรคฝีดาษลิงดังกล่าว แต่ก็อาจมีความเสี่ยงในประชาชนบางกลุ่ม ได้แก่ แรงงาน นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการท่องเที่ยว นักธุรกิจ ที่เดินทางไปหรือมาจากประเทศที่พบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิง ดังนั้นใครที่เพิ่งเดินทางมาจากประเทศในแถบทวีปแอฟริกา แล้วมีอาการดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า