โรคเบาหวาน ป้องกันได้ รักษาทัน

โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน วินิจฉัยอย่างไรบ้าง ?
ในเบื้องต้น เมื่อเราเดินทางไปพบแพทย์ แพทย์ก็จะเริ่มต้นสอบถามอาการ ประวัติการเจ็บป่วย รวมไปถึงคนในครอบครัว จากนั้นก็จะมีการตรวจร่างกาย ตรวจเลือดเพื่อดูระดับน้ำตาล ซึ่งวิธีการวิเคราะห์ระดับน้ำตาลก็จะมีอยู่หลายวิธี ดังนี้

วิธีที่ 1 : การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเวลาใดก็ได้
วิธีที่ 2 : การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
วิธีที่ 3 : การทดสอบการตอบสนองของฮอร์ดมนอินซูลินที่มีต่อระดับน้ำตาลในเลือด
วิธีที่ 4 : การตรวจน้ำตาลเฉลี่ยสะสม หรือฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี
หากผู้ป่วยไม่มีอาการของโรคเบาหวานชัดเจนคือ หิวน้ำมาก ปัสสาวะบ่อยและมาก น้ำหนักตัวลดลง โดยที่ไม่มีสาเหตุ การตรวจด้วยวิธีทั้งหมดข้างต้นจำเป็นต้องมีการตรวจซ้ำอย่างน้อย 1 ครั้งด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งอีกครั้งหนึ่งเพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย

อาการของผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
หากกล่าวถึงโดยภาพรวมอาการของผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวานนั้นจะปัสสาวะบ่อย มีน้ำหนักที่ลดลง หิวบ่อย บางครั้งก็มีอาการอ่นเพลีย อันเนื่องมาจากการที่มีน้ำตาลในเลือดสูง คราวนี้ เราลองมาดูกันลึกลงไปอีกนิดว่าผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานจะมีอาการใดแสดงให้เห็นเพิ่มเติมได้อีกบ้าง

ในคนทั่วไปที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคเบาหวานก่อนที่จะรับประทานอาหารเช้าจะมีระดับน้ำตาลในเลือดเพียง 70 – 110 มก.% โดยหลังจากที่รับประทานอาหารเช้าเข้าไปแล้วประมาณ 2 ชั่วโมง ก็จะมีระดับน้ำตาลในเลือดไม่เกิน 140 มก.% ซึ่งที่มีระดับน้ำตาลไม่มากก็อาจจะไม่แสดงอาการใดๆ ออกมา สำหรับการวินิจฉัยโรคเบาหวานนั้นทำได้ด้วยการเจาะเลือด มีอาการที่พบได้บ่อยดังนี้

คนปกติที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคเบาหวานมักจะไม่ลุกขึ้นมาปัสสาวะในช่วงเวลากลางดึก หรือปัสสาวะเป็นอย่างมากไม่เกิน 1 ครั้ง ซึ่งเมื่อมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดที่เกินกว่า 180 มก.% น้ำตาลก็จะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ ทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อยและเกิดการสูญเสียน้ำ อีกทั้งยังอาจพบได้ว่าปัสสาวะของตนเองมีมดตอม

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานมักจะหิวน้ำบ่อย อันเนื่องมาจากต้องมีการทดแทนน้ำที่ร่างกายขับออกมาทางปัสสาวะ

มีอาการอ่อนเพลีย น้ำหนักตัวลดลงเนื่องจากร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลที่มีอยู่ได้ จึงได้ย่อยสลายส่วนที่เป็นโปรตีนและไขมันออกมา

ผู้ป่วยมักจะหิวบ่อยและกินเก่ง แต่ในทางตรงกันข้าม น้ำหนักตัวจะลดลงอย่างต่อเนื่อง เกิดเพราะร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ จึงมีการสลายพลังงานจากไขมันและโปรตีนจากกล้ามเนื้อแทน

อาการอื่นที่อาจพบได้ อาทิ การติดเชื้อ , แผลหายช้า หรือมีอาการคันตามจุดต่างๆ ของร่างกาย

เกิดการคันตามผิวหนัง มีการติดเชื้อรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณช่องคลอดของผู้หญิง ส่วนสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดการคันอาจเกิดจากผิวที่แห้งจนเกินไป หรือมีการอักเสบของผิวหนัง

การมองเห็นไม่ชัดเจน สายตาพร่ามัวจนต้องเปลี่ยนแว่นบ่อยๆ ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะมีการเปลี่ยนแปลงทางสายตา เช่น สายตาสั้น , ต้อกระจก หรือมีน้ำตาลในเลือดสูง

เกิดอาการชาตามส่วนต่างๆ ไม่มีความรู้สึก เจ็บตามแขนขา หย่อนสมรรถภาพทางเพศ อันเนื่องมาจากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงนาน ส่งผลให้เส้นประสาทเกิดการเสื่อมสภาพ เป็นแผลที่เท้าง่าย เพราะไม่มีความรู้สึก

อาจเกิดการอาเจียน
เมื่อระดับน้ำตาลอยู่ในกระแสเลือดสูงและเป็นโรคเบาหวานได้ระยะหนึ่ง ก็อาจเกิดโรคแทรกซ้อนขึ้นกับหลอดเลือดเล็ก เรียกว่า Microvacular ซึ่งหากมีโรคแทรกซ้อนนี้เกิดขึ้นก็จะทำให้เกิดโรคไต , เบาหวานเข้าตา นอกจากนั้น หากหลอดเลือดแดงใหญ่เกิดการแข็งตัว จะเรียกว่า Macrovascular ที่จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ , เป็นอัมพาต , หลอดเลือดแดงที่ขาตีบ อีกทั้งยังจะทำให้เกิดปลายประสาทอักเสบ ที่เรียกว่า Neuropathic ที่ทำให้ขาชา , กล้ามเนื้ออ่อนแรง และประสาทอัตโนมัติเสื่อมได้

หากมีอาการเหล่านี้ บวกกับพฤติกรรมในการทานอาหารที่ไม่ค่อยระวังเรื่องแป้ง และน้ำตาล คุณอาจสันนิษฐานได้ว่ากำลังมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานได้สูง เพราะฉะนั้นควรรีบพบแพทย์เพื่ การตรวจที่ละเอียด และทำการรักษาต่อไปค่ะ

ขอบคุณข้อมูลฉบับเต็ม >>
https://www.sanook.com/health/2725/