การตั้งชื่อลูกมีความสำคัญต่อผู้ที่เป็นพ่อและแม่อย่างมากดังนั้นการตั้งชื่อจริงที่เหมาะสมต่อวันเดือนปีเกิด เพื่อช่วยเสริมสิริมงคลในชีวิตของเด็กน้อย ซึ่งเป็นเรื่องที่พ่อแม่ยุคใหม่ให้ความใส่ใจเป็นอย่างมากซึ่งถ้าคุณกำลังมองหาชื่อดีๆ ของปีนี้ ให้กับลูกน้อยของคนที่จะตรงตามหลักการตั้งชื่ออย่างถูกต้อง ขอแนะนำหลักในการตั้งชื่อ ที่ได้ทั้งความไพเราะและทำให้มั่นใจต่อการใช้ชีวิตในอนาคตมากยิ่งขึ้นดังต่อไปนี้
หลักการตั้งชื่อลูกที่ควรรู้ ทั้งการตั้งชื่อลูกสาว และ การตั้งชื่อลูกชาย
การตั้งชื่อลูกสำหรับเด็กแรกเกิดจะมีความสำคัญอยู่ทั้งหมด 8 เรื่องด้วยกัน คือ
- บริวาร หมายถึง คนภายในครอบครัวและคนใกล้ชิดในชีวิต
- อายุ หมายถึง การเป็นอยู่ การใช้ชีวิต และสุขภาพ
- เดช หมายถึง อำนาจ บารมี การได้ลาภยศ การมีชื่อเสียง และตำแหน่งหน้าที่การงาน หน้าตาทางสังคม
- ศรี หมายถึง เรื่องของโชคลาภและความสำเร็จ รวมไปถึงเรื่องของเสน่ห์ มีคนรักและเอ็นดู
- มูลละ หมายถึง การมีทรัพย์สิน มีมรดกเงินทอง และความมั่นคงทางการเงิน
- อุตสาหะ หมายถึง การทำงาน ความขยันหมั่นเพียร การประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานและการใช้ชีวิตที่มีความกระตือรือร้น
- มนตรี หมายถึง การมีผู้หลักผู้ใหญ่สนับสนุน ช่วยเหลือ ค้ำจุนเกื้อกูลด้วยความเอ็นดู ทั้งพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ครู อาจารย์ เจ้านาย ผู้ที่อาวุโสกว่า
- กาลกิณี หมายถึง ตัวอักษรที่ไม่เหมาะสมต่อชื่อและวัน-เดือน-ปีเกิดของตัวผู้ที่ถูกตั้งชื่อ เพราะจะนำมาซึ่งความอัปมงคล ความทุกข์ ความทรมาน เคราะห์ร้าย และเรื่องราวที่ไม่ดีต่างๆ
อักษรกาลกิณีของคนแต่ละวัน
ดังนั้นการตั้งชื่อลูกจึงต้องคำนึงถึงทั้ง 8 ข้อนี้ให้มที่สุด ซึ่งคนที่เกิดในแต่ละวันจะมีตัวอักษรที่เป็นกาลกิณีแตกต่างกันออกไป คือ
- ผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ มีอักษรที่เป็นกาลกิณี คือ ศ ษ ส ห ฬ ฮ
- ผู้ที่เกิดวันจันทร์ มีอักษรที่เป็นกาลกิณี คือ อ
- ผู้ที่เกิดวันอังคาร มีอักษรที่เป็นกาลกิณี คือ ก ข ค ฆ ง
- ผู้ที่เกิดวันพุธ มีอักษรที่เป็นกาลกิณี (กลางวัน) คือ จ ฉ ช ซ ฌ ญ
- ผู้ที่เกิดวันพุธ มีอักษรที่เป็นกาลกิณี (กลางคืน) คือ บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม
- ผู้ที่เกิดวันพฤหัสบดี มีอักษรที่เป็นกาลกิณี คือ ด ต ถ ท ธ น
- ผู้ที่เกิดวันศุกร์ มีอักษรที่เป็นกาลกิณี คือ ย ร ล ว
- ผู้ที่เกิดวันเสาร์ มีอักษรที่เป็นกาลกิณี คือ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ
ตั้งชื่อจริงลูกชาย 100 รายชื่อ พร้อมความหมาย
- กฤตัชญ์ – ผู้รู้คุณคนอื่น มีความกตัญญู
- คณุตม์ – ประเสริฐกว่าคนทั้งหลาย
- จิรทีปต์ – รุ่งเรืองตลอดกาลนาน
- ณัฐปคัลภ์ – ปราชญ์ผู้องอาจ
- ติณณภพ – ผู้ข้ามภพได้ ชื่อของผู้บรรลุธรรม
- นิพพิชฌน์ – ปัญญา เข้าใจทะลุปรุโปร่ง ตรัสรู้
- ผรัณชัย – มีชัยชนะไปทั่ว
- พิทยุตม์ – ผู้มีความรู้สูงสุด
- ศาตนันท์ – มีความสุขและความเพลิดเพลิน
- อนันยช – เกิดมาเป็นที่หนึ่ง
- อิงครัต – ผู้ยินดีในความรู้
- กฤตยชญ์ – นักปราชญ์ผู้คงแก่เรียน
- คณพศ – มีอำนาจในหมู่คณะ
- ชวกร – ผู้สร้างเชาวน์ ผู้มีเชาวน์
- ณฏฐพล – กำลังของนักปราชญ์
- ธนลภย์ – ได้ทรัพย์
- ธรรมปพน – มีคุณธรรมบริสุทธิ์
- นฤสรณ์ – เป็นที่พึ่งของคนทั้งหลาย
- วรลภย์ – ผู้มีลาภอันประเสริฐ
- วฤนท์ธม – มากมายยิ่งใหญ่
- สรฐชญณ์ – มีความรู้เป็นที่พึ่งอย่างมั่นคง
- จรณินทร์ – เป็นใหญ่เพราะความประพฤติดี
- จิรัฎฐ์ – ดำรงมั่น อยู่นาน
- ชิณณวรรธน์ – อยู่กับความเจริญ
- ญานุจจัย – สะสมความรู้ มีความรู้มาก
- ถิรพุทธิ์ – มีความรู้มั่นคง
- ทัณฑธร – ผู้พิพากษา
- ปุณณัตถ์ – สมประสงค์
- พฤนท์เดช – มีอำนาจทางทหาร
- ภัทรจาริน – มีความประพฤติดี
- ฤทธิรณ – ความเก่งกล้าในการรบ
- วัณณุวรรธน์ – ทางแห่งความเจริญ
- อจลวิชญ์ – มีความรู้ไม่หวั่นไหว
- อติวัณณ์ – การสรรเสริญ ผู้มีตระกูลสูง
- อติวิชญ์ – นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ ผู้มีตระกูลสูง
- อัฑฒ์ – ชายผู้ร่ำรวย
- คณุฒน์ – ประเสริฐกว่าคนทั้งหลาย
- ฐปนวัฒน์ – เจริญอย่างมั่นคง
- ฐิตธีร์ – ปราชญ์ผุ้มั่นคง
- ฐิติวัสส์ – ยืนยาวตลอดปี
- ธุวานันท์ – มีความยินดียั้งยืน มีความสุขยั่งยืน
- นนทิวรรธน์ – ยินดีในทรัพย์
- นัธทวัฒน์ – มีความเจริญเป็นที่มั่นคง
- ปัณฑ์ธร – ทรงไว้ซึ่งความรู้
- พิชญุตม์ – ฉลาดและยิ่งใหญ่
- พลัฎฐ์ – ตั้งอยู่ในกำลัง ทรงพลัง
- วริทธิ์นันท์ – ยินดีในความสำเร็จอันประเสริฐ
- วเรณย์ – ประเสริฐสุด
- อุกฤษฎ์ – ประเสริฐสุด
- กฤติชยตร์ – การกระทำที่ฉลาด
- กิตติ์ณัฏฐกร – สร้างความรู้และเกียรติ
- ชัญญากรณัฐ – ปราชญ์ผู้สร้างความรู้
- ชาครีย์สร – ผู้ตื่นและแกล้วกล้า
- ฐานิศวรร์ – มีฐานะอันยิ่งใหญ่
- ฐิรชาติศักดิ์ – เกิดมามียศศักดิ์มั่นคง
- ณรงค์คณินทร์ – เป็นใหญ่เหนือหมู่คณะในการรบ
- ณัฏฐ์ณชัย – ที่ซึ่งมีแต่ชัยชนะและความรู้
- ณัฏฐ์ธนัญ – ปราชญ์ผู้มีทรัพย์และอื่นๆ
- นัทธ์ธัญธนิน – ผูกพันกับความโชคดีและร่ำรวย
- เทวทิณณ์ – เทพประทาน
- ธีร์ธัญนนท์ – ปราชญ์ผู้มีโชคและความยินดี
- ธีร์สิรธนัศ – ปราชญ์ผู้เป็นยอดและเป็นเจ้าแห่งทรัพย์
- รดิศไชยนันท์ – ยินดีมีความเจริญกว่าและเป็นเจ้าแห่งทรัพย์
- วัสยษฏิ์ – ถึงซึ่งความเป็นอยู่อันดี
- กฤชฐารวี – มีอาวุธที่มั่นคงดั่งพระอาทิตย์
- กฤษฎาภาส – การกระทำที่รุ่งเรือง
- การัณยภาส – ความรุ่งเรืองแห่งการงาน
- ฆฤษวี – ร่าเริง
- จิณณิชวัรชญ์ – มีความรู้ประเสริฐเป็นอาจิณ
- ชาครีย์วสุ – ทรัพย์สินของผู้ตื่นอยู่เสมอ
- เชษฐวิรุฬห์ – เจริญอย่างยิ่งใหญ่
- ฐิณัณรเมศ – ฐานะความรู้มั่นคงและเป็นเจ้าแห่งรัก
- พรหมาณฑ์ชา – ดี, เก่ง ในจักรวาล
- ภิญญาสิปัณฑ์ – รอบรู้และฉลาดยิ่ง
- ศักร์สฤษฏิ์ – พระอินทร์เป็นผู้สร้าง
- ษุภ์ปรเมษฐ์ – ดีงามอย่างยิ่ง
- อภิณัฏฐกร – นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่
- อรรฆย์พสุ – มีทรัพย์สินอันมีค่ายิ่ง
- กิตติ์ธนัญนภ – มีเกียรติร่ำรวยดั่งฟ้ากว้าง
- ขันธ์ธิปก – ผู้เป็นใหญ่เหนือกรมกอง
- ฐิตินนท์ณัฐ – นักปราชญ์ผู้สร้างความยินดี
- ณกานต์พิทักษ์ – ที่ซึ่งเป็นที่รักและความรักษาไว้
- ธัญกฤษฏิ์ – ฉลาดเป็นเสิศ
- ธัญพิสิฏฐา – โชคดีและเจริญเป็นเยี่ยม
- นิพพิชฌน์ – ปัญญา เข้าใจทะลุปรุโปร่ง ตรัสรู้
- ปัญญ์คคนานต์ – ปัญญาดั่งท้องฟ้า
- ภาณุเมศธนัน – ร่ำรวยยิ่งใหญ่ดุจพระอาทิตย์
- มหัทธนะกิตติ์ – มีชื่อเสียงและร่ำรวยยิ่ง
- ศุภ์กฤศธเนส – มีการกระทำที่ดีและร่ำรวย
- สัณห์พิชญ์ – นักปราชญ์ผู้ละเอียดอ่อน
- อัคคัญญ์ – สูงสุด
- กิตติ์จีระภูมิ – มีเกียรติยิ่งยืนในแผ่นดิน
- คมน์พีระภัทร – การถึงซึ่งความกล้าหาญและดีงาม
- ดัตวทฤษ – รู้จริง
- เถกิงศักดิ์ – รุ่งเรืองด้วยยศศักดิ์
- ทรัพยพฤทธิ์ – เจริญในสมบัติ
- ทีป์สุรธเนส – แสงสว่างแห่งความดีงามและมั่งคั่ง
- ทีรฆทรรศ – เห็นการณ์ไกล
- ธนพฤทธ์ – มีเงินมาก
- ธรินทร์วรัช – ประเสริฐและทรงไว้ซึ่งความเป็นใหญ่