อาการ “โรคหัวใจ” แบบไหนต้องผ่าตัด

May 18, 2022 0 Comments

ปกติการรักษาโรคหัวใจจะแบ่งออกเป็น 3 วิธี คือ การใช้ยา การทำหัตถการพิเศษผ่านสายสวน และสุดท้ายคือ การผ่าตัด โดยปกติการใช้ยาถือเป็นการรักษาหลักในผู้ป่วยทุกราย แต่ก็จะมีข้อจำกัดว่าถ้าเส้นเลือดตีบรุนแรง ตีบจำนวนหลายเส้น หรือ ผู้ป่วยมีอาการมาก ก็ไม่สามารถใช้ยาอย่างเดียวได้และต้องมาพิจารณาถึงหัตถการหรือการผ่าตัดเพิ่มเติม การผ่าตัดหัวใจมีหลักการเป็นอย่างไร? สำหรับการผ่าตัดจะแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ การผ่าตัดเปิดแบบปกติ ศัลยแพทย์จำเป็นต้องตัดแยกกระดูกหน้าอกออก เพื่อที่จะสามารถทำการผ่าตัดได้ง่ายขึ้น ซึ่งวิธีนี้คือ แผลผ่าตัดมีขนาดใหญ่ ถือเป็นการผ่าตัดมาตรฐาน ข้อดีของวิธีนี้สามารถผ่าตัดหัวใจได้ทุกชนิด แต่มีข้อจำกัดคือ กระดูกจะต้องถูกตัด ซึ่งจะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดหลังผ่าตัดได้ การผ่าตัดแบบแผลเล็ก ปัจจุบันมีการพัฒนาการผ่าตัดมากขึ้น เป็นการผ่าตัดแบบแผลเล็ก ซึ่งแผลผ่าตัดจะมีขนาดเล็กลงมาก แค่ 6-8 ซม. และมักจะอยู่บริเวณด้านข้างของผนังทรวงอก ทำให้ผู้ป่วยมีรอยแผลเป็นที่สวยงามมากขึ้น สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เร็วขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการผ่าตัดแบบแผลเล็ก ยังมีข้อจำกัดค่อนข้างมาก สามารถทำได้กับผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพเฉพาะ และไม่รุนแรงจนเกินไปเท่านั้น ประกอบกับยังต้องอาศัยศัลยแพทย์ที่มีความชำนาญการ ทีมแพทย์ รวมถึงโรงพยาบาลที่มีเครื่องมือครบ วิธีการผ่าตัดแบบแผลเล็กจึงไม่สามารถใช้ได้กับผู้ป่วยทุกราย ต้องให้ศัลยแพทย์เป็นผู้ตัดสินใจเลือกวิธีการผ่าตัดเฉพาะให้แก่ผู้ป่วยแต่ละราย การผ่าตัดหัวใจ มีวิธีอย่างไร? การผ่าตัดหัวใจทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับโรคของคนไข้ ซึ่งโรคที่เราพบบ่อยในประเทศไทยเป็นอันดับที่ 1 ก็คือ …